ISBAR การสื่อสารอย่างปลอดภัย

เสาวนีย์ ราชคม

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลแม่สอด

Definition

ประสิทธิผลการสื่อสารโดยใช้ ISBAR หมายถึง การกำหนดกรอบการสนทนา ISBAR

• Identify
• Situation
• Background
• Assessment
• Recommendation

ทำให้เพิ่มความปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสำคัญในระหว่างการดูแลผู้ป่วย

อะไรคือ ISBAR

ISBAR คือแนวทางในการสื่อสารระหว่างทีม และระหว่างสหสาขาวิชาชีพ แบบง่ายๆ ที่มีกรอบในการสื่อสารและส่งต่อข้อมูลที่ชัดเจน เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ป่วย เช่น เมื่อผู้ป่วยภาวะวิกฤตและต้องให้ความสนใจและรับการรักษาทันที

ทำไมเราต้องใช้ ISBAR

ISBAR จะช่วยลดช่องว่างในการสื่อสารระหว่างกันของทีม เช่น แพทย์ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมจากพยาบาลที่รายงาน
ISBAR เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และส่งต่อข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤตหรือมีการเปลี่ยนแปลงของอาการที่เป็นอยู่
ISBAR เป็นเครื่องมือที่มีขั้นตอนที่ง่ายต่อการจดจำ และช่วยกระตุ้นให้เกิดการสื่อสารระหว่างกันเพื่อให้เกิดความครอบคลุมของข้อมูล
ISBAR จะช่วยลดอุบัติการณ์การสื่อสารผิดพลาด การไม่ส่งต่อข้อมูล เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ป่วย

องค์ประกอบ ISBAR

ISBAR คืออักษรย่อของขั้นตอนการสื่อสาร 5 ขั้นตอน

I : Identify การระบุชื่อ ระบุตัวผู้รายงาน/ตัวผู้ป่วย
S : Situation สถานการณ์ที่ทำให้ต้องรายงาน/ที่ต้องส่งเวร
B : Background ข้อมูลภูมิหลังสำคัญเกี่ยวกับสถานการณ์
A : Assessment การประเมินสถานการณ์ของพยาบาล
R : Recommendation ข้อแนะนำหรือความต้องการของพยาบาล

ขั้นตอนการใช้ ISBAR

ก่อนที่เราจะใช้ ISBAR เราควรมีการเตรียมข้อมูล

1 ใช้วิธีการส่อสาร/มีเบอร์โทรศัพท์ของแพทย์ที่หลากหลาย เช่น
โทรศัพท์มือถือ,โทรศัพท์บ้านในวันหยุดหรือนอกเวลาราชการ,โทรศัพท์ในห้องทำงาน/ห้องตรวจ ควรใช้ทุกวิถีทางในการติดต่อ
และถ้าติดต่อไม่ได้ ไม่ควรรอนานกว่า 5 นาทีในการติดต่อครั้งต่อไป
รวมทั้งมีการกำหนดมาตรการป้องกันโดยการกำหนด รายชื่อแพทย์สำรองเพื่อติดต่อขอคำปรึกษาแทนในกรณีติดต่อกับแพทย์เจ้าของไข้ไม่ได้

2 ก่อนที่จะโทรศัพท์หาแพทย์เราควรเตรียมตัวดังต่อไปนี้
ถามตัวเองก่อนว่าได้เห็นและประเมินผู้ป่วยรายนี้ด้วยตนเองหรือไม่??
ทบทวนว่าได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับสถานการณ์ของผู้ป่วยรายนี้กับพยาบาลที่อาวุโสและมีประสบการณ์กว่าหรือไม่??
เราควรรู้ว่าเราจะรายงานแพทย์ท่านใด เช่น แพทย์เฉพาะทาง แพทย์เวร จากการที่เราทบทวนเวชระเบียน
เรารับรู้การวินิจฉัยเมื่อแรกรับและวันที่รับไว้
เราได้อ่านและทำความเข้าใจกับบันทึกความก้าวหน้าของแพทย์และพยาบาลที่บันทึกไว้หรือยัง
เราเตรียมข้อมูลและสิ่งต่างๆ เหล่านี้ก่อนการรายงานแพทย์
 - เวชระเบียนผู้ป่วย
 - บัญชีรายการยาและสารน้ำที่ผู้ป่วยกำลังได้รับ ประวัติการแพ้ยา
 - สัญญาณชีพล่าสุด, GCS, Pain Score
 - รายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ วันเวลาที่ตรวจและผลการตรวจครั้งที่แล้วเพื่อการเปรียบเทียบ

I : Identify

S : Situation

B: Background

A: Assessment

R : Recommendation

ขั้นตอนการใช้ ISBAR

ISBAR