• พยาบาลตรวจสอบยา Potassium chloride ให้ตรงตาม order ของแพทย์ให้ละเอียดก่อนการบริหารยาด้วยความละเอียดรอบคอบ
- ชื่อ-นามสกุลของผู้ป่วย
- ชื่อยา
- รูปแบบยา
- ปริมาณยา
- จำนวนยา(พยาบาลผู้ตรวจสอบหรือเตรียมยา/บริหารยา ให้เป็นคนละคนกัน ใช้พยาบาล 2 คน)
• สังเกตยาเมื่อได้รับยา Potassium chloride มาจากห้องยา คือ สติ๊กเกอร์สีส้ม บ่งชี้ “ยาที่มีความเสี่ยงสูง ควรใช้อย่างระมัดระวัง” ที่บรรจุภัณฑ์หรือบนซองยา และกำหนดให้มีสัญลักษณ์ตัวอักษร “H” ปรากฏที่ฉลากยา
• ขั้นตอนการเตรียมยา/บริหารยา
- ต้องเจือจางกับสารน้ำก่อนให้ผู้ป่วยและพลิกกลับไปมาให้เข้ากันดีกับสารน้ำก่อนให้ผู้ป่วยเสมอ ห้ามผสม K+ เข้าไปในถุงสารน้ำที่กำลังแขวนให้ผู้ป่วยอยู่
- ห้าม IV push IV bolus เพราะทำให้หัวใจหยุดเต้นได้
- ควรบริหารยาผ่าน infusion pump
- ผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่องหรือ Heart block ควรลดอัตราเร็วในการบริหารยาลงประมาณครึ่งหนึ่ง
• สารน้ำที่เข้ากันได้ : NSS, D5W, D5S, D10S, D5N/2, D10W, RLS
• ความคงตัว : หลังเจือจางด้วย infusion fluids ควรใช้ภายใน 24 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิห้อง
• เมื่อต้องให้ยา Potassium chloride พยาบาลผู้ให้ยาต้องตรวจสอบชื่อนามสกุลของผู้ป่วย ชื่อยา ขนาดยาให้ถูกต้องซ้ำก่อนให้ยาผู้ป่วย
• การเตรียมยาและบริหารยา Potassium chloride ให้ปฏิบัติโดยใช้ “Independent double check process”
• พยาบาลมีการเฝ้าระวัง ติดตาม และประเมินการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Potassium chloride ซึ่งเป็นยาที่มีความเสี่ยงสูงตามคู่มือการใช้ยา High Alert หากสังเกตพบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ จากการใช้ยาให้รายงานแพทย์และเภสัชกรทราบทันที
- ถ้าให้ยาเกิน 40 mEq/L ต้องวัด HR , BP อย่างน้อย ทุก 2 ชั่วโมง
- ถ้าให้ 20-40 mEq/L หรือต่ำกว่า ให้วัด HR และ BP ทุก 4 ชั่วโมง
- มีการตรวจติดตามค่าโพแทสเซียมในเลือดเป็นระยะ ตามความรุนแรงของผู้ป่วยหรือตามดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา ซักถามและติดตามอาการของภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง ได้แก่ คลื่นไส้ ใจสั่น หัวใจเต้นช้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง อึดอัด แน่นหน้าอก ชาตามปลายมือปลายเท้าทุกวัน ในช่วงที่ผู้ป่วยได้รับ Potassium chloride อยู่
- ตรวจสอบ Infusion pump เสมอ อย่างน้อย ทุก 4 ชั่วโมง
- ติดตามปริมาณปัสสาวะ ถ้าปริมาณปัสสาวะน้อยกว่า 200 ml/ 8 hrs. อาจเกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสะสมได้
- ติดตามการเกิดยารั่วออกนอกเส้นเลือด (Extravasation) เพราะอาจทำให้เกิดเนื้อเยื่อตายได้โดยเฉพาะที่ใช้ความเข้มข้นสูงมากกว่า 0.1 mEq/ml หรือ infuse ผ่าน peripheral line
• Children
- Blood pressure >120/80 mmHg หรือ <80/60 mmHg, Heart rate < 60 bpm/ > 180 bpm ในเด็กอายุเกิน 1 ปี
- Blood pressure <100/70 mmHg หรือ <70/50 mmHg, Heart rate < 80 bpm/ > 220 bpm ในเด็กอายุ < 1 ปี
- ปริมาณปัสสาวะน้อยกว่า 0.5 ml/kg/hrs
- Serum potassium > 5 mEq/L
• Adult
- Blood pressure >160/90 mmHg หรือ <90/60 mmHg, Heart rate < 60 bpm/ > 120 bpm ในผู้ใหญ่
- ปริมาณปัสสาวะน้อยกว่า 200 ml/8 hrs ในผู้ใหญ่
- Serum potassium > 5 mEq/L
• หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการของโพแทสเซียมในเลือดสูง ได้แก่ คลื่นไส้ ใจสั่น หัวใจเต้นช้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง อึดอัด แน่นหน้าอก ชาตามปลายมือปลายเท้า หรือ HR และ BP ไม่อยู่ในเกณฑ์ข้างต้น ให้หยุดการให้ Potassium chloride ไว้ก่อนและให้ตรวจวัดระดับค่าโพแทสเซียมในเลือดทันที
• หากพบว่า ผู้ป่วยมีค่าโพแทสเซียมในเลือดสูงมากว่า 5 mEq/L ให้หยุดการให้ Potassium chloride ทันที ทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ทำการดูว่ามีลักษณะที่เข้ากันได้กับภาวะ hyperkalemia เช่น พบลักษณะ T wave สูง หรือไม่ หาก พบว่า EKG ผิดปกติ ให้ monitoring EKG
• พิจารณาให้การรักษาภาวะ hyperkalemia ตามอาการและความรุนแรง โดยพิจารณารักษาดังนี้
1 การรักษาที่ออกฤทธิ์ทันที ภายใน 1-3 นาที คือการให้ 10% Calcium gluconate 10 ml ทาง IV ช้า ๆ ใน 5 นาที เพื่อไปต้านฤทธิ์ของโพแทสเซียมที่เยื่อหุ้มเซลล์ อาจให้ซ้ำได้อีกหลังให้ยาครั้งแรกนาน 5 นาที ถ้า EKG ยังผิดปกติ แต่ต้อง monitor EKG ด้วยทุกครั้ง
2 การออกฤทธิ์เร็วปานกลาง ภายในเวลา 10-30 นาที โดยทำให้ค่าโพแทสเซียม ในเลือดถูกดึงเข้าเซลล์ คือ การให้ RI 5-10 units + 50% glucose 40-50 ml IV stat การรักษาดังกล่าว ควรติดตามระดับ Capillary blood glucose ร่วมด้วย
3 การรักษาที่ออกฤทธิ์ช้า เป็นการรักษาเพื่อเร่งขับโพแทสเซียมออกจากร่างกาย โดยให้ยาที่มีคุณสมบัติ เป็น Cation exchange resin ได้แก่ Kalimate 30-60 g สวนทางทวารหนักจะออกฤทธิ์ภายใน เวลา 30 นาที หรือหากให้วิธีรับประทาน จะออกฤทธิ์ภายใน 2 ชั่วโมง
4 ในกรณีผู้ป่วยที่มีการทำงานไตบกพร่องหรือไม่สามารถแก้ไขภาวะ hyperkalemia ได้ด้วยวิธี ดังกล่าวข้างต้น ให้ปรึกษาแพทย์เชี่ยวชาญทางโรคไต และพิจารณาทำการล้างไต (dialysis)
• ติดตามค่าโพแทสเซียมในเลือด ทุก 4-6 ชั่วโมง ภายหลังได้รับการรักษา
• ถ้าเกิด extravasation แล้วให้หยุดการหยดยาทันทีและ disconnect สาย แล้วค่อย ๆ ดูด extravasated solution ออก (ไม่ flush line) ค่อย ๆ ดึง needle/cannula ออกและยก extremity ขึ้น ใช้ dry cold compresses
• จัดเก็บยา Potassium chloride เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง ส่วนการเก็บรักษายาให้เก็บแยกออกจากยาที่มีภาชนะบรรจุที่คล้ายคลึงกัน ไว้ที่ตู้เก็บยาที่มีความเสี่ยงสูงโดยมีกุญแจล็อก ซึ่งเวลาจะใช้ยาต้องรายงานหัวหน้าเวรให้รับทราบ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการหยิบใช้ยา
• สังเกตยาเมื่อได้รับยา Potassium chloride มาจากห้องยา คือ สติ๊กเกอร์สีส้ม บ่งชี้ “ยาที่มีความเสี่ยงสูง ควรใช้อย่างระมัดระวัง ” ที่บรรจุภัณฑ์หรือบนซองยา และกำหนดให้มีสัญลักษณ์ตัวอักษร “H” ปรากฏที่ฉลากยา