1. การล้างมือและเทคนิคปลอดเชื้อ Hand hygiene & Aseptic technique
1.1 ล้างมือก่อนและหลังทำกิจกรรมใดๆที่เกี่ยวของกบสายสวนหลอดเลือดด้วยน้ำและสบู่ผสมน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือใช้ Alcohol-based hand rub
1.2 ใช้เทคนิคปลอดเชื้อตลอดเวลาขณะใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางโดยสวมถุงมือสะอาด
การดูแลขณะใส่สายสวนหลอดเลือดดำสวนกลาง
1. มีการสวมใส่เครื่องป้องกันร่างกายขณะใส่และช่วยแพทย์ใส่สายสวนหลอดเลือดดำ ได้แก่หมวกคลุมผม ผ้าปิดจมูก เสื้อคลุมปราศจากเชื้อ ถุงมือปราศจากเชื้อ ใช้ผ้าผืนใหญ่ปราศจากเชื้อคลุมตัวผู้ป่วยจากศีรษะจรดเท้า
2.การเตรียมผิวหนังบริเวณที่จะแทงสายสวนหลอดเลือดดำสวนกลาง
2.1 ใช้ 2% Chlohexidine with alcohol เตรียมบริเวณผิวหนังผู้ป่วยก่อนแทงสายสวน หลอดเลือดดำส่วนกลาง
2.2 หากมีข้อห้ามการใช้ 2% Chlohexidine with alcohol ให้เตรียมผิวหนังโดยใช้ 10% povidine iodine หรือ 70% alcohol
2.3 ทิ้งระยะเวลาให้ antiseptic แห้งก่อนแทงสายสวนตามระยะเวลาของ antiseptic แต่ละประเภทที่เลือกใช้ (2% Chlohexidine with alcohol และ 70% alcohol เมื่อแห้ง ส่วน 10% povidine iodine ทิ้งไว้ 2 นาที)
3. ทำหัตถการตามหลัก Aseptic technique
การดูแลหลังใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง
1. การปิดแผลบริเวณตำแหน่งที่คาสายสวน
1.1 ใช้ผ้าก็อซปราศจากเชื้อปิดแผลบริเวณตำแหน่งที่คาสายสวนในวันแรกและกรณีมี bleeding หรือ oozing
1.2 เมื่อครบกำหนดทำแผลครั้งต่อไปและกรณีแผลแห้งปิดแผลด้วย sterile transparent film หรือ semipermeable
1.3 เปลี่ยนผ้าปิดแผลทันทีเมื่อเปียกชื้น ร่อนหลุด หรือเห็นว่าสกปรก
1.4 ระวังอย่าให้ส่วนใดของสายสวนหลอดเลือดเปียกน้ำขณะเช็ดตัวหรืออาบน้ำผู้ป่วย
1.5 กรณีผู้ป่วยใส่ Central line เปลี่ยนผ้าก็อซทุก 2 วัน หากเป็น sterile transparent หรือ semipermeable เปลี่ยนทุก 7 วัน
1.6 ประเมินแผลบริเวณรอบๆที่คาสายสวนหลอดเลือดทุกเวรและทุกครั้งขณะที่เปลี่ยนผ้าปิดแผล หรือใช้มือกดเบาๆบริเวณรอบสายสวนหากผู้ป่วยมีอาการกดเจ็บ มีไข้ มีอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อเฉพาะที่หรือการติดเชื้อในกระแสโลหิต ควรเปิดผ้าปิดแผลออกเพื่อตรวจบริเวณรอบสายสวน
1.7 ประเมินความจำเป็นในการคาสายสวนวันละครั้ง เมื่อพบว่ามีอาการและอาการแสดงการติดเชื้อ หากไม่มีข้อบ่งชี้ในการคาสายสวนให้รีบเอาออกทันที
2. การเปลี่ยนชุดให้สารน้ำ
2.1 สารอาหารทางหลอดเลือดดำเปลี่ยนทุก 24 ชั่วโมง ส่วนสารละลายไขมันเปลี่ยนทุก 12 ชั่วโมง
2.2 สายให้สารน้ำให้เปลี่ยนทุก 72 ชั่วโมง สำหรับสายที่ให้สารละลายไขมันเปลี่ยนภายใน 24 ชั่วโมง
2.3 สายให้เลือดและผลิตภัณฑ์จากเลือดให้เปลี่ยนทุก 4 ชั่วโมงหรือทุก unit
2.4 ชุดข้อต่อต่างๆที่ใช้ร่วมกับการให้สารน้ำ สายต่อต่างๆเปลี่ยนทุก 72 ชั่วโมง
2.5 ระบบการให้สารน้ำต้องเป็นระบบปิดตลอด
3. การให้สารน้ำและยา การดูดเลือดส่งตรวจ โดยเช็ดข้อต่อที่มี SteriCap ด้วย Alcohol pad เช็ดหมุนอย่างน้อย 15 วินาที ก่อนให้สารน้ำและยาหรือเพื่อดูดเลือดส่งตรวจ
4. ใช้เทคนิคปลอดเชื้อขณะดูแลสายสวนหลอดเลือด
5. หากไม่มีข้อบ่งชี้ในการคาสายสวนให้รีบเอาออกทันที
การป้องกันการเลื่อนหลุดของสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง
1. หลังแพทย์ทำหัตถการ ให้พยาบาลตรวจสอบจากแพทย์ผู้ทำหัตถการเพื่อทำการยืนยันตำแหน่งสายที่แน่นอนพร้อมระบุตำแหน่งสายเป็นลายลักษณ์อักษร(อาจจะระบุในใบหัตถการ, Doctor Order Sheet หรือในใบ Progress Note)
2. ก่อนปิดแผล ให้พยาบาลที่ทำหน้าที่ช่วยดูตำแหน่งของสาย Central Line ส่วนที่พ้นผิวหนัง จากนั้นพยาบาลเจ้าของไข้ลงบันทึกตำแหน่งของสายที่วัดได้ใน Nurses’s Note
3. พยาบาลตรวจสอบคำสั่งการรักษาของแพทย์ว่ามีการส่ง X-Ray และได้อ่านผลเพื่อตรวจสอบตำแหน่งสาย Central Line
การดูแลหลังใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง
4. Dressing และปิดแผลตามแนวทางการป้องกันการเลื่อนหลุดของสาย Central Line ดังนี้
4.1 เตรียมอุปกรณ์ในการ Dressing และปิดแผล ดังนี้
- Set Dressing
- น้ำยา 2% chlorhexidine in 70% alcohol
- Tegaderm
- Fixumull (ที่ตัดเป็นเส้นความกว้าง 1 cm.) ขนาดยาว 8 cm. จำนวน 3 เส้น, ขนาดยาว 5 cm. จำนวน 2 เส้น
4.2 Dressing แผล ตามมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนเข้าหลอดเลือดดาสวนกลาง
4.3 ปิดแผลด้วยวิธีดังต่อไปนี้ เมื่อ Dressing แผลเสร็จ เว้นระยะให้แน่ใจว่าบริเวณผิวหนังแห้งสนิทดีแล้วปิดแผลด้วย Tegaderm โดยคลุมแนบสนิทกับผิวไม่มีฟองอากาศ
- ใช้ Fixumull ขนาดยาว 8 cm. จำนวน 2 เส้นติดบริเวณสายที่ติดขอบ Tegaderm
- ใช้ Fixumull ขนาดยาว 8 cm. เส้นที่ 3 ปิดใต้ Catheter juncture hub ลักษณะไขว้กัน
- ใช้ Fixumull ขนาดยาว 5 cm. 2 เส้นปิดทับสาย Central line
- เขียนตำแหน่งความยาวของสายที่เห็นบริเวณผิวหนัง
- เขียนวันเวลาที่จะต้องเปิดแผล Dressing ครั้งต่อไปอีก 7 วัน(กรณีปิดด้วย gauze เปิด Dressing ครั้งต่อไปอีก 2 วัน)
4.4 Dressing แผลใหม่ทุกครั้ง เมื่อมีการหลุดลอกของ Tegaderm หรือแผลเปียกหรือมีเลือดซึม และเมื่อครบกำหนดเปิดแผล 7 วัน
4.5 การ Dressing แผล ขณะทำการลอก Tegaderm ให้ fix ปลายสายและดึงเข้าหา insertion site ไม่ดึงสายตึงขณะทำแผล
4.6 ลงบันทึกตำแหน่งของสาย central line ใน Nurses’s Note ติดตามตำแหน่งสายร่วมกับ x-ray
4.7 ในการรับ-ส่งเวร พยาบาลเจ้าของไข้ประเมินตำแหน่งที่ใส่สาย ประเมินการเลื่อนหลุดของสาย Central Line และตรวจสอบตำแหน่งสายและบันทึกทุกเวร
4.8 จัดสาย central line ส่วนที่ไม่ได้ปิดพลาสเตอร์และอยู่นอกตัวผู้ป่วย เก็บสายให้เรียบร้อยจัดให้เป็นอิสระไม่พันกันและไม่ดึงรั้งกับอุปกรณ์อื่น
4.9 ในขณะเปลี่ยนท่า พลิกตะแคงตัวหรือทำกิจกรรมพยาบาลให้ผู้ป่วย ให้ใช้มือจับตรง สายและตรวจดูไม่ให้ดึงรั้งอุปกรณ์ต่างๆขณะยกตัวผู้ป่วย
4.10 ผูกยึดผู้ป่วยในรายที่สับสนและควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ตามมาตรฐานการผูกยึดผู้ป่วย
4.11 หากพบว่าสายมีการเลื่อนจากตำแหน่งเดิมหรือถ้าสายหลุดให้กดบริเวณ insertion site และ exit site จนกว่าเลือดจะหยุดและรีบรายงานแพทย์อย่างเร่งด่วน
การป้องกันการอุดตันของสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง
1. ในกรณีที่มีการให้ parenteral nutrition ต้องมีการไล่สายด้วย NSS 10 ml ทุก 24 ชั่วโมง
2. กรณีให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด ต้องมีการไล่สายด้วย NSS 10 ml ก่อนและหลังให้เลือด
3. ถ้าไม่มีสารน้ำไหลเข้าตลอดเวลา ต้องไล่สายด้วย NSS 10 ml
4. กรณีมี port ว่าง ให้หมุนเวียนการใช้งานของ port ทุก 24 ชั่วโมง
5. เมื่อดูดเลือดจากสาย central line แล้วไม่สามารถดูดเลือดออกมาได้ให้เลิกใช้ port นั้นพร้อมติดป้ายงดใช้
6. เมื่อมีการอุดตันที่ port ใด port หนึ่งแต่ยังมีความจำเป็นต้องใช้สาย central line อยู่ให้ใช้port ที่ยังไม่ clot ต่อเท่าที่จำเป็น รายงานแพทย์ให้ทราบว่ามี port ของ central line clot เพื่อให้พิจารณาว่าสมควรใช้ต่อหรือไม่
วิธีไล่สายและล็อคสายแต่ละ port
1. ดูดเลือดดูก่อนว่าไม่ตัน โดยใช้ Syringe 5 ml ดูดเลือดออกช้าๆ 0.5 - 1 ml
2. ไล่สายด้วย NSS 5 ml ใช้วิธี ดัน หยุด ดัน หยุด(push pause technique) แล้ว clamp lock ทันที(positive pressure technique) ปิดจุกให้เรียบร้อย
การให้ยาเป็นครั้งคราว (ควรเป็น proximal port)
1. ดูดเลือดดูก่อนว่าไม่ตัน โดยใช้ Syringe 5 ml ดูดเลือดออกช้าๆ 0.5 - 1 ml
2. ก่อนให้ยา ให้ไล่สายด้วย NSS 5 ml ใช้วิธี ดัน หยุด ดัน หยุด(push pause technique)
3. ให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์
4. เมื่อให้ยาเสร็จแล้ว ให้ไล่สายด้วย NSS 5 ml ใช้วิธี ดัน หยุด ดัน หยุด(push pause technique)
5. แล้ว clamp lock ใช้ positive pressure technique
การดูดเลือดเพื่อส่งตรวจ
1. ไม่ควรดูดเลือดจากสายที่มี TPN
2. ดูดเลือดทิ้งก่อน 2-3 ml แล้วใช้ syringe อีกอันหนึ่งดูดเลือดเพื่อส่งตรวจ เวลาดูดเลือดให้ดูดช้าๆ
3. เมื่อเสร็จการดูดเลือดให้ flush ด้วย NSS 10 ml ใช้วิธี ดัน หยุด ดัน หยุด(push pause technique)
4. แล้ว clamp lock ใช้ positive pressure technique